ระดับภาษา
ภาษามีหลายระดับขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในการใช้ภาษาตามสัมพันธภาพของบุคคล ตามโอกาส กาลเทศะ วัตถุประสงค์ และเนื้อหาของสาร เพื่อให้การสื่อสารสัมฤทธิ์ผลสมตามความมุ่งหมาย เราอาจแบ่งออกเป็นระดับต่าง ๆ ดังนี้
๑. แบ่งเป็น ๒ ระดับได้แก่ ระดับที่เป็นแบบแผน ระดับที่ไม่เป็นแบบแผน
๒. แบ่งเป็น ๓ ระดับ ได้แก่ ระดับพิธีการ ระดับกึ่งพิธีการ ระดับไม่เป็นพิธีการ
๓. แบ่งออกเป็น ๕ ระดับ ได้แก่ ระดับพิธีการ ระดับทางการ ระดับกึ่งทางการ ระดับไม่เป็นทางการ ระดับกันเอง
ดังนั้นพอสรุปได้ว่า ภาษาจำแนกเป็น ๒ ระดับ คือ ภาษาแบบเป็นทางการ ได้แก่ ระดับพิธีการ ระดับทางการ และภาษาแบบไม่เป็นทางการ ได้แก่ ภาษาระดับกึ่งทางการ ภาษาระดับสนทนา และภาษาระดับกันเอง
๑. ภาษาระดับพิธีการ เป้นภาษาที่มักใช้ถ้อยคำที่ได้เลือกเฟ้นแล้วว่าไพเราะสละสลวย ใช้สื่อสารกันในการประชุมที่เป็นพิะีการ อาทิ การเปิดประชุมรัฐสภา การกล่าวคำปราศรัย การกล่าวสดุดี ฯลฯ
๒. ภาษาระดับทางการ เป็นภาษาที่ใช้ในการบรรยายหรืออภิปรายอย่างเป้นทางการในที่ประชุม หรือใช้เขียนข้อความที่จะให้ปรากฏต่อสาธารณชนอย่างเป็นการเป็นงาน หนังสือที่ใช้ติดต่อกับทางราชการหรือวงการธุรกิจ อาทิ ผลงานทางวิชาการ เรียงความ บทความทางวิชาการ หนังสือราชการ ฯลฯ
๓. ภาษาระดับกึ่งทางการ เป็นภาษาที่ใช้ในการประชุมเล็ก ๆ ที่ลดความเป็นการเป็นงานลง เพื่อให้เกิดสัมพันธภาพอันใกล้ชิดยิ่งขึ้นระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับสาร อาทิ การอภิปรายกลุ่ม การบรรยายในห้องเรียน การเล่าเรื่อง ชีวประวัติ ข่าวและบทความในหนังสือพิมพ์ ฯลฯ
๔. ภาษาระดับสนทนา (ไม่เป็นทางการ) เป็นภาษาที่ใช้ในการสนทนาโต้ตอบระหว่างบุคคลหรือกลุ่มคนที่ไม่เกิน ๔-๕ คน ถ้อยคำที่ใช้อยู่ในระดับที่มีคำสแลง คำตัด คำย่อปะปนอยู่ อาทิ การรายงานข่าว การเขียนจดหมายถึงเพื่อน การเขขียนนวนิยาย บทภาพยนตร์ เป็นต้น
๕. ภาษาระดับกันเอง เป็นภาษาที่ใช้อยู่ในวงจำกัด ใช้สนทนาสำหรับผู้ที่สนิทสนมคุ้นเคยกันมาก ๆ เช่น ในหมู่เพื่อนฝูง หรือในครอบครัว มักใช้พูดกันในสถานที่ที่เป็นส่วนตัว เช่น นวนิยาย เรื่องสั้น บทละคร ข่าวกีฬา เป็นต้น
ในการเลือกใช้ภาษาระดับต่าง ๆ ควรคำนึงถึง โอกาสและสถานที่ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ลักษณะของเนื้อหา และสื่อที่ใช้ในการสื่อสาร เพื่อให้การสื่อสารเกิดประสิทธิภาพสูงสุด
ข้อควรจำ
คำและสำนวนที่ไม่ปรากฏในภาษาระดับทางการ ๑. คำลงท้าย เช่น ครับ ซิ นะ เถอะ ๒. คำขานรับ เช่น จ๊ะ ขา ๓. คำซ้ำ เช่น นิดหน่อย ๆ ต่าง ๆ นานา ๔. คำขยายที่ไม่เป็นทางการ เช่น เปรี้ยวจี๊ด เค็มปี๋
๕. ชื่อย่อต่าง ๆ เช่น ส.ส ผู้ว่าฯ
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น