วันอังคารที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561



ระดับภาษา



                 ภาษามีหลายระดับขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในการใช้ภาษาตามสัมพันธภาพของบุคคล ตามโอกาส กาลเทศะ  วัตถุประสงค์ และเนื้อหาของสาร เพื่อให้การสื่อสารสัมฤทธิ์ผลสมตามความมุ่งหมาย  เราอาจแบ่งออกเป็นระดับต่าง ๆ ดังนี้
  ๑. แบ่งเป็น ๒ ระดับได้แก่ ระดับที่เป็นแบบแผน  ระดับที่ไม่เป็นแบบแผน
  ๒. แบ่งเป็น ๓ ระดับ ได้แก่ ระดับพิธีการ  ระดับกึ่งพิธีการ ระดับไม่เป็นพิธีการ
  ๓. แบ่งออกเป็น ๕ ระดับ ได้แก่ ระดับพิธีการ  ระดับทางการ  ระดับกึ่งทางการ  ระดับไม่เป็นทางการ  ระดับกันเอง

ดังนั้นพอสรุปได้ว่า  ภาษาจำแนกเป็น ๒ ระดับ คือ ภาษาแบบเป็นทางการ  ได้แก่ ระดับพิธีการ  ระดับทางการ   และภาษาแบบไม่เป็นทางการ ได้แก่ ภาษาระดับกึ่งทางการ  ภาษาระดับสนทนา  และภาษาระดับกันเอง
               ๑. ภาษาระดับพิธีการ  เป้นภาษาที่มักใช้ถ้อยคำที่ได้เลือกเฟ้นแล้วว่าไพเราะสละสลวย  ใช้สื่อสารกันในการประชุมที่เป็นพิะีการ อาทิ การเปิดประชุมรัฐสภา  การกล่าวคำปราศรัย การกล่าวสดุดี ฯลฯ
                ๒. ภาษาระดับทางการ  เป็นภาษาที่ใช้ในการบรรยายหรืออภิปรายอย่างเป้นทางการในที่ประชุม หรือใช้เขียนข้อความที่จะให้ปรากฏต่อสาธารณชนอย่างเป็นการเป็นงาน หนังสือที่ใช้ติดต่อกับทางราชการหรือวงการธุรกิจ อาทิ ผลงานทางวิชาการ  เรียงความ บทความทางวิชาการ หนังสือราชการ  ฯลฯ
                ๓. ภาษาระดับกึ่งทางการ เป็นภาษาที่ใช้ในการประชุมเล็ก ๆ ที่ลดความเป็นการเป็นงานลง เพื่อให้เกิดสัมพันธภาพอันใกล้ชิดยิ่งขึ้นระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับสาร อาทิ การอภิปรายกลุ่ม  การบรรยายในห้องเรียน การเล่าเรื่อง  ชีวประวัติ   ข่าวและบทความในหนังสือพิมพ์ ฯลฯ
                ๔. ภาษาระดับสนทนา (ไม่เป็นทางการ)  เป็นภาษาที่ใช้ในการสนทนาโต้ตอบระหว่างบุคคลหรือกลุ่มคนที่ไม่เกิน ๔-๕ คน   ถ้อยคำที่ใช้อยู่ในระดับที่มีคำสแลง คำตัด คำย่อปะปนอยู่  อาทิ การรายงานข่าว  การเขียนจดหมายถึงเพื่อน การเขขียนนวนิยาย  บทภาพยนตร์ เป็นต้น
                ๕. ภาษาระดับกันเอง เป็นภาษาที่ใช้อยู่ในวงจำกัด ใช้สนทนาสำหรับผู้ที่สนิทสนมคุ้นเคยกันมาก ๆ  เช่น ในหมู่เพื่อนฝูง หรือในครอบครัว มักใช้พูดกันในสถานที่ที่เป็นส่วนตัว  เช่น นวนิยาย เรื่องสั้น บทละคร ข่าวกีฬา เป็นต้น
                    ในการเลือกใช้ภาษาระดับต่าง ๆ ควรคำนึงถึง โอกาสและสถานที่ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล  ลักษณะของเนื้อหา และสื่อที่ใช้ในการสื่อสาร เพื่อให้การสื่อสารเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

ข้อควรจำ
คำและสำนวนที่ไม่ปรากฏในภาษาระดับทางการ
๑. คำลงท้าย  เช่น ครับ  ซิ  นะ  เถอะ
๒. คำขานรับ เช่น  จ๊ะ  ขา
๓. คำซ้ำ เช่น นิดหน่อย ๆ  ต่าง ๆ นานา
๔. คำขยายที่ไม่เป็นทางการ เช่น เปรี้ยวจี๊ด  เค็มปี๋
๕. ชื่อย่อต่าง ๆ  เช่น  ส.ส   ผู้ว่าฯ  

วันพฤหัสบดีที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2561

การวิเคราะห์ภาษา

ชนิดของประโยค



ประโยคความเดียว

ประโยคความเดียว เป็นประโยคที่นำคำมาเรียงกัน เเล้วมีความหมายสมบูรณ์บอกให้รู้ว่า ใคร ทำอะไร โดยมีเนื้อความเพียงเนื้อความเดียว หรือกล่าวถึง สภาพอย่างใดอย่างหนึ่งเพียงสภาพเดียว
ประโยคความเดียว มีส่วนประกอบที่สำคัญ ๒ ส่วน คือ ภาคประธาน และภาคเเสดง ซึ่งทั้งภาคประธานและภาคเเสดงนี้อาจมีบทขยาย เพื่อทำให้ประโยคมีความหมายชัดเจนมากขึ้น

ตัวอย่าง
ประโยค
ประธาน
บทขยายประธาน
กริยา
บทขยายกริยา
กรรม
บทขยายกรรม
นกบิน
นก
-
บิน
-
-
-
วัวกินหญ้า
วัว
-
กิน
-
หญ้า
-
เสือตัวใหญ่นอนหลับ
เสือ
ตัวใหญ่
นอนหลับ
-
-
-
เก่งเล่นสกปรก
เก่ง
-
เล่น
สกปรก
-
-
คนสวยอุ้มแมวอ้วน
คน
สวย
อุ้ม
-
แมว
อ้วน

ประโยคความเดียว ยังสามารถแบ่งย่อยได้อีก ดังนี้

.๑  ประโยคความเดียวที่ประกอบด้วยประธาน และกริยา
ประธาน + กริยา
เช่น กบร้อง ฝนตก ดอกไม้สวย
ประธาน + ขยายประธาน + กริยา
เช่น กบตัวโตร้อง ฝนโบกขรพรรษตก ดอกกุหลาบแดงสวย
ประธาน+ขยายประธาน+กริยา + ขยายกริยา
เช่น เด็กข้างบ้านร้องไห้ดังลั่น งูตัวใหญ่ค่อยๆเลื้อยไปอย่างเชื่องช้า
ประธาน+กริยา+ขยายกริยา
เช่น น้ำท่วมอย่างฉับพลัน เขาเดินทางโดยเครื่องบิน

.๒  ประโยคความเดียวที่ประกอบด้วยประธาน กริยา และกรรม เช่น  กบกินแมลง  งูไล่หนู  ฟ้าผ่าต้นไม้
ประธาน+ขยายประธาน+กริยา+กรรม
เช่น น้องของฉันเห็นงู กบสีเขียวในสระกินแมลง
ประธาน+ขยายประธาน+กริยา+กรรม+ขยายกริยา
เช่น แมลงปีกแข็งกระพือปีกเร็วมาก
ประธาน+กริยา+กรรม+ขยายกรรม
เช่น พ่อซื้อบ้านตากอากาศริมทะเลชะอำ
ประธาน+กริยา+กรรม+ขยายกริยา
เช่น เขารับประทานอาหารจีนด้วยตะเกียบอย่างคล่องแคล่ว

.๓  ประโยคความเดียวที่ประกอบด้วยประธาน กริยา และส่วนเติมเต็ม เช่น
ความสำเร็จของลูกเป็นความหวังของพ่อแม่
ข้อดีของเขาคือการทำงานด้วยความซื้อสัตย์