วันพุธที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2559

คำพ้อง


             
ความหมายของคำพ้อง
คำพ้องความหมาย
            คือคำที่มีความหมายซ้ำกันหรือเหมือนกัน   คือศัพท์หนึ่งคำอาจจะมีความหมายเหมือนกันแต่ต่างกันที่การเขียน
และการออกเสียง เนื่องมาจากภาษาไทยเป็นภาษาของเสียงดนตรี ภาษาของบทกลอน ซึ่งเป็นภาษาที่มีการบังคับใช้คำ
และเป็นภาษาที่มีการใช้กับบุคคลแต่ละลำดับชั้นไม่เหมือนกัน อย่างเช่นศัพท์ที่ใช้กับพระมหากษัตริย์ พระภิกษุ   สงฆ์
ย่อมแตกต่างกับศัพท์หลายคำที่ไทยรับเอาคำในภาษาต่างประเทศมาใช้   ทำให้คำศัพท์ในภาษาไทยแตกออกไปได้หลายคำ  
เพื่อให้เหมาะกับกาลเทศะ
ความหมาย
คำพ้องความหมาย
กบ
  เภกะ เภคะ มัณฑุก
กล้วย
  กทลี กรัน กัทลี
ขาว
  สกาว ตระดาษ ชุษณะ
เงิน
  งึน เง็น เงือน ปรัก หิรัญ
ทาส
  ทาสี ทาษ ทาสทาสี กระทาสี
ธง
  ธช ธวัช ธัช ธุช เกตุ ธชะ
บวช
  บรรพชา ผนวช
พญานาค
  อุรค อุรเคนทร์ พาสุกรี
หู
  โสต โศรไตร กรรณ กรรณา กัณณ์ กรรเจียก

           

















**การใช้คำที่มีความหมายเหมือนกันหรือใกล้เคียงกัน**
     คำที่มีความหมายเหมือนกันหรือใกล้เคียงกันคือ คำที่ไม่เหมือนกัน
  
แต่มีความหมายเหมือนกันหรือใกล้เคียงกันจะแตกต่างกันตรงการใช้
  
โดยจะยึดเอาความหมายในประโยครวมหรือประธานเป็นหลัก


คำ
ความหมาย
กฏเกณฑ์
  น.ข้อกำหนดที่วางไว้เป็นหลัก
กฏ
  น.ข้อกำหนดหรือข้อบัญญัติที่บังคับให้ต้องมีปฏิบัติตาม
หลบซ่อน
  ก.หลีก แอบ เลี่ยงไม่ให้พบ
กบดาน
  น.นอนพังพาบกับพื้นใต้น้ำ อย่างอาการของจระเข้ โดยปริยาย
  
หมายถึงหลบซ่อนตัวไม่ออกมา
กระจ่าง
  ก.สว่าง สุกใส ชัดเจน แจ่ม
ชัชวาล
  ว.สว่าง รุ่งเรือง โพลงขึ้น
กระโจน
  ก.กระโดดพุ่งลงไป เผ่นข้ามไป
เผ่น
  ก.กระโดดไปโดยไม่รั้งรอ
ขบ
  ก.เอาฟันเน้นเพื่อให้แตก
เคี้ยว
  ก.บดให้แหลกด้วยฟัน







   คำพ้อง                                               
  
คำพ้องหมายถึงคำที่มีรูปหรือเสียงเหมือนกันแต่จะมีความหมายต่างกันซึ่งเวลา อ่านต้องอาศัยการสังเกตพิจารณา
เนื้อความของคำที่เกี่ยวข้องประกอบด้วยคำพ้อง แบ่งเป็น 3 ชนิด คือ
    
  .คำพ้องรูป คือ คำพ้องที่เขียนเหมือนกันแต่ออกเสียงต่างกัน

ครุ อ่านว่า ครุ เป็นอักษรควบ แปลวว่า ภาชนะสานชนิดหนึ่ง      อ่านว่า คะ – รุ เป็นอักษรนำ แปลว่า ครู หนัก
เพลา อ่านว่า เพลา เป็นอักษรควบ แปลว่า ตัก เข่า แกนล้อหมุน    อ่านว่า เพ – ลา อ่านเรียงพยางค์ แปลว่า เวลา
เสลา อ่านว่า สะ - เหลา เป็นอักษรนำ แปลว่า ต้นไม้ชนิดหนึ่ง     เสลา อ่านว่า เส - ลา อ่านเรียงพยางค์ แปลว่า หิน
ปรัก อ่านว่า ปรัก เป็นอักษรควบ แปลว่า เงิน                     ปรัก อ่านว่า ปะ – หรัก เป็นอักษรนำ แปลว่า หัก
แขม อ่านว่า แขม แปลว่า ชื่อต้นไม้ล้มลุกชนิดหนึ่ง               แขม อ่านว่า ขะ – แม แปลว่า คนเขมร
  
    คำพ้องเสียง คือ คำที่เขียนต่างกันแต่จะออกเสียงเหมือนกัน
 กาล หมายถึง เวลา
 กาฬ หมายถึง ดำ
 กานต์ หมายถึง น่ารัก
 จัน หมายถึง ต้นไม้ชนิดหนึ่ง
 จันทน์ หมายถึง ไม้หอม
 จันทร์ หมายถึง ดวงเดือน
 ศาสตร์ หมายถึง ระบบความรู้
 ศาสน์ หมายถึง คำสั่งคำสั่งสอน
 สาด หมายถึง ซัด ,ซัดนำไป                                                   
 สารท หมายถึง เทศกาลทำบุญเดือนสิบ
  ดาด หมายถึง ลาด ปู ดาด ฟ้า                                                                                                                      
 ดาษ หมายถึง มากมาย เกลื่อนกลาด ฝีชนิดหนึ่ง
 มาศ หมายถึง ทอง มาตร , เครื่องวัด
 มาส หมายถึง เดือน
 พรรณ หมายถึง ชนิด ,สี
 พันธุ์ หมายถึง เหล่ากอ ,วงศ์วาน
 พัน หมายถึง สิบร้อยผูกมัด
 ภัณฑ์ หมายถึง สิ่งของ
        
 คำพ้องทั้งรูปและเสียง คือคำพ้องที่เขียนเหมือนกัน อ่านออกเสียงเหมือนกัน แต่จะต่างกันในด้านความหมาย ซึ่งขึ้นอยู่ที่ใจความของคำข้างเคียง เช่น
                                                                          กัน หมายถึง โกนให้เสมอกัน
                                                                          กัน หมายถึง ฉัน ,ข้าพเจ้า
                                                                          กัน หมายถึง ห้าม ,ปิด ขัน หมายถึง ทำให้ตึง
                                                                          ขัน หมายถึง น่าหัวเราะ
                                                                          ขัน หมายถึง ภาชนะใส่ตักน้ำ                                                                                  
·       คำพ้องรูป คือ คำที่เขียนเหมือนกัน แต่อ่านออกเสียงต่างกัน และมีความหมายต่างกัน
ตัวอย่าง 





                                                     คำพ้องเสียง    คือ คำที่อ่านออกเสียงเหมือนกันเเต่เขียนต่างกัน คำพ้องเสียงบางคำเป็นคำไทยเเท้ 
และบางคำมาจากภาษาอื่น เช่นภาษาบาลีและภาษาสันสกฤต เป็นต้น
ตัวอย่าง
๑.   รด          หมายถึง  เท ราด สาดน้ำลงไปให้เปียกชุ่ม       ตัวอย่างประโยค  ฉันช่วยพ่อเเม่รดน้ำต้นไม้
      
รถ          หมายถึง  ยานที่มีล้อสำหรับเคลื่อนไป              ตัวอย่างประโยค  ฉันนั่งรถโดยสารประจำทางไปโรงเรียนทุกวัน
๒.   กัน         หมายถึง   กีดขวางไว้ไม่ให้เข้ามาหรือออกไป
      
กัลป์       หมายถึง   ระยะหนึ่งในช่วงเวลาอันยาวนาน
      
กรรณ      หมายถึง   หู

๓.   ครรภ์      หมายถึง   ท้อง เช่น หญิงมีครรภ์
       
คันธ์       หมายถึง   กลิ่นหอม

๔.  พรรณ      หมายถึง   สีของผิว ชนิด
      
พันธุ์        หมายถึง   พวกพ้อง พี่น้อง วงศ์วาน เหล่ากอ


๕.  จันทร์       หมายถึง   ดวงเดือน
      
จันทน์      หมายถึง  ชื่อพรรณไม้ ใช้ทำยาเเละปรุงเครื่องหอม

กาพย์ช่วยจำ คำช่วยจด คำพ้องเสียง
               ข้ารู้ค่าของใจที่ไม่ฆ่า                            ด้วยเมตตาพาใจใฝ่กุศล
               เด็กขี้เกียจเขียนเลขคี่มีสามคน                    ข้อยไม่บ่นค่อยทำไปจนได้ดี
               เขาข้อนอกเพราะวจีที่ขอดค่อน                   ทุกขั้นตอนคั่นไว้ให้เป็นที่
               ขั้วโลกใต้ถั่วโอชาถ้าคั่วดี                          ใช้ส้อมนี้ช่วยซ่อมได้ลองใช้ดู
               ฟังเพลงค่าวข้างกองข้าวหนาวในอก                เห็นค่างกกลูกแนบข้างนางหดหู่
               หมาเเยกเขี้ยวเราขับเคี่ยวลดเลี้ยวดู                  ใครอย่าฉ้อช่อพบูชูให้ชม
               ถ้าคอยท่าผู้เฒ่าเป็นเถ้าแก่                         ท่านมาเเน่ด้วยเอ็นดูคู่เสกสม
              ผู้หญิงชอบหมวกมีพู่ดูขำคม                       ฝนตกซู่สู้ฝ่าลมมาเยี่ยมเยือน                                                                           
คำพ้องรูป
คำอ่าน
ความหมาย
แหน
แหน (หน + แ-)
แหน (ห + แ- + น)
ชื่อไม้ล้มลุกชนิดหนึ่ง
หวง
สระ
สะ
สะ - หระ
แอ่งน้ำ
ตัวอักษรที่ใช้ประกอบกับพยัญชนะ
เพลา
เพลา
เพ - ลา
แกนสำหรับสอดในดุมรถ
เวลา
แขม
แขม
ขะ - แม
ไม้ล้มลุกชนิดหนึ่ง
ชาวเขมร
ปักเป้า
ปัก - เป้า
ปัก – กะ - เป้า
ว่าวชนิดหนึ่ง
ปลาชนิดหนึ่ง
แหง
แหง (หง + แ-)
แหง (ห + แ- + ง)
อาการของหน้าที่แสดงเก้อหรือจนปัญญาหรือ แน่ แน่นอน
คำแหง หรือกำแหง แข็งแรง เข้มแข็ง
กรี
กรี
กะ - รี
กระดูกแหลมที่หัวกุ้ง
ช้าง
เสมา
สะ - เหมา
เส - มา
ต้นไม้ชนิดหนึ่ง
เครื่องหมายบอกเขตโบสถ์สำหรับทำสังฆทาน
เสลา
สะ - เหลา
เส - ลา
ต้นไม้ชนิดหนึ่ง หรือสวย งาม
ภูเขา
ปรัก
จัน
จันทน์
จันทร์
จรร
·       จัน
จัน
จัน
จัน
·    ผลไม้ที่สุกเหลืองหอม
ต้นไม้ที่มีเนื้อ ดอก และผลมีกลิ่นหอม
ดวงเดือน ชื่อวันลำดับที่ 2 ของสัปดาห์
ความประพฤติ
·      โจษ
โจทก์
โจทย์
·       โจด
โจด
โจด
·       เล่าลือ กล่าวขาน
ผู้ฟ้อง ผู้กล่าวหา
คำถามในวิชาเลข
·      พัน
พันธ์
พันธุ์
พรรณ
ภัณฑ์
·    พัน
พัน
พัน
พัน
พัน
·       จำนวน 10 ร้อย หรือมัดโดยรอบ เกี่ยวข้องกัน
ผูกมัด
เชื้อสาย เหล่าก่อ
สีผิว ชนิด
สิ่งของ
·      สัน
สันต์
สรร
สรรค์
สัณฑ์
·       สัน
สัน
สัน
สัน
สัน
·       แนวที่สูงขึ้น
สงบ
คัด เลือก
สร้าง
พล
พลี
พะ - ลี
ขอแบ่งเอามา เชิญเอามา
เสียสละ บวงสรวง บูชา
·       คำพ้องเสียง คือ คำที่อ่านออกเสียงเหมือนกัน เขียนต่างกัน และมีความหมายต่างกัน                                                                                      
·       ตัวอย่าง

·       ป่า
 






วีดีโอเสริมความรู้
คำพ้องรูป




คำพ้องเสียง





เพลงคำพ้อง พ้องรูป พ้องเสียง







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น