😝สาเหตุที่ภาษาต่างประเทศเข้ามาปะปนในภาษาไทย
😀 คำภาษาไทยที่ยืมมาจากภาษาต่างประเทศ
😅 อิทธิพลของภาษาต่างประเทศที่มีต่อภาษาไทย
😇คำภาษาบาลีและสันสกฤตที่มีใช้ในภาษาไทย
😝 คำยืมที่มาจากภาษาสันสกฤต
😎คำยืมที่มาจากภาษาอังกฤษ
😘คำยืมภาษาจีนที่มีใช้ในภาษาไทย
😌 คำภาษาเขมรในภาษาไทย
😆คำภาษาชวา-มลายูที่มีใช้ในภาษาไทย
😉 คำภาษาอื่น ๆ ที่มีใช้ในภาษาไทย
😀 คำภาษาไทยที่ยืมมาจากภาษาต่างประเทศ
😅 อิทธิพลของภาษาต่างประเทศที่มีต่อภาษาไทย
😇คำภาษาบาลีและสันสกฤตที่มีใช้ในภาษาไทย
😝 คำยืมที่มาจากภาษาสันสกฤต
😎คำยืมที่มาจากภาษาอังกฤษ
😘คำยืมภาษาจีนที่มีใช้ในภาษาไทย
😌 คำภาษาเขมรในภาษาไทย
😆คำภาษาชวา-มลายูที่มีใช้ในภาษาไทย
😉 คำภาษาอื่น ๆ ที่มีใช้ในภาษาไทย
สาเหตุที่ภาษาต่างประเทศเข้ามาปะปนในภาษาไทย
การติดต่อสัมพันธ์กันทำให้ภาษาต่างประเทศเข้ามาปะปนอยู่ในภาษาไทย ด้วยสาเหตุหลายประการ พอสรุปได้ดังนี้
- สภาพภูมิศาสตร์ คือ ประเทศไทยมีอาณาเขตติดต่อกับประเทศต่าง ๆ ได้แก่ พม่า ลาว เขมร มาเลเซีย จึงทำให้คนไทยที่อยู่อาศัยบริเวณชายแดนเดินทางข้ามแดนไปมาหาสู่กันและมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน จึงมีการแลกเปลี่ยนภาษากัน เช่น คนไทยที่อยู่ในจังหวัดสุรินทร์ ศรีษะเกษ บุรีรัมย์ ก็จะสามารถสื่อสารด้วยภาษาเขมรได้ คนไทยที่อยู่ในจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส สงขลา รับเอาภาษามาลายูเข้ามาใช้ เป็นต้น
- ประวัติศาสตร์ ชนชาติไทยเป็นชนชาติที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน มีการอพยพโยกย้ายของคนไทยเข้ามาอยู่ในถิ่นอาศัยปัจจุบัน ซึ่งแต่เดิมมีชนชาติอื่นอาศัยอยู่ก่อน เช่น เขมร ละว้า มอญ หรือมีการทำศึกสงครามกับชนชาติอื่น มีการกวาดต้อนเชลยศึกและประชาชน พลเมืองชนชาติอื่น ๆ ให้มาอาศัยอยู่ในประเทศไทย ผู้คนเหล่านี้ได้นำถ้อยคำภาษาเดิมของตนเองมาใช้ปะปนกับภาษาไทยด้วย
- ศาสนา คนไทยมีเสรีภาพในการนับถือศาสนามาเป็นเวลาช้านาน เมื่อนับถือศาสนาใดก็ย่อมได้รับถ้อยคำภาษาที่ใช้ในคำสอน หรือคำเรียกชื่อต่าง ๆ ในทางศาสนาของศาสนานั้น ๆ มาปะปนอยู่ในภาษาไทยด้วย เช่น ศาสนาพราหมณ์ใช้ภาษาสันสกฤต ศาสนาพุทธใช้ภาษาบาลี ศาสนาอิสลามใช้ภาษาอาหรับ และศาสนาคริสต์ใช้ภาษาอังกฤษ ดังนั้นภาษาต่าง ๆ ที่ใช้ ในทางศาสนาก็จะเข้ามาปะปนในภาษาไทยด้วย
- การค้าขาย จากหลักฐานทางด้านประวัติศาสตร์ ชนชาติไทยมีการติดต่อค้าขาย แลกเปลี่ยนสินค้ากับชนชาติต่าง ๆ มาเป็นเวลาอันยาวนาน เช่น ชาวจีน ชาวโปรตุเกส ฝรั่งเศส อังกฤษ ฮอลันดา ตลอดถึงญี่ปุ่น ทำให้มีถ้อยคำในภาษาของชนชาตินั้น ๆ เข้ามาปะปนอยู่ในภาษาไทยเป็นจำนวนมาก ตลอดเวลาไม่มีวันสิ้นสุด
- วรรณคดี วรรณคดีอินเดียที่ไทยนำเข้ามา เช่น เรื่องมหากาพย์รามายณะ และ มหาภารตะ แต่งขึ้นเป็นภาษาสันสกฤต อิเหนา เป็นวรรณคดีที่มีเค้าเรื่องมาจากเรื่องดาหลังของชวา ด้วยเหตุนี้วรรณคดีทำให้ภาษาสันสกฤตและภาษาชวาเข้ามาปะปนในภาษาไทย
- ความสัมพันธ์ทางด้านวัฒนธรรมและประเพณี เมื่อชนชาติต่าง ๆ เข้ามาสัมพันธ์ติดต่อกับชนชาติไทย หรือเข้ามาตั้งหลักแหล่งอยู่ในประเทศไทย ย่อมนำเอาวัฒนธรรมและประเพณีที่เคยยึดถือปฏิบัติอยู่ในสังคมเดิมของตนมาประพฤติปฏิบัติในสังคมไทย นาน ๆ เข้าถ้อยคำภาษาที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมและประเพณีเหล่านั้น ก็กลายมาเป็นถ้อยคำภาษาที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของคนไทยมากขึ้น
- การศึกษาและวิทยาการด้านต่าง ๆ จากการที่คนไทยเดินทางไปศึกษายังต่างประเทศ ทำให้ได้ใช้และพูดภาษาอื่น ๆ และรับเอาวิทยาการต่าง ๆ เมื่อสำเร็จการศึกษา จึงนำภาษาของประเทศนั้นมาใช้ปะปนกับภาษาของตน เช่น ภาษาอังกฤษ ในปัจจุบันประเทศไทยกำลังเตรียมความพร้อมด้านการศึกษาเพื่อก้าวสู่ประชาคมอาเซียนและมาตรฐานสากล โดยการจัดการศึกษาให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ภาษาและวัฒนธรรมประเทศสมาชิกสมาคมอาเซียนและภาษาที่สามารถสื่อสารกันในสากลโลก ดังนั้นการหลั่งไหลของภาษาต่าง ๆ ที่จะเข้ามาปะปนในภาษาไทยก็จะเพิ่มมากขึ้น
- ความสัมพันธ์ทางการทูต การเจริญสัมพันธไมตรีทางการทูต ในการอพยพ โยกย้ายหรือในการติดต่อทางการทูต ย่อมทำให้ภาษาของเจ้าของถิ่นเดิมหรือผู้อพยพโยกย้ายมาใหม่นำมาใช้ร่วมกัน เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส
- อพยพย้ายถิ่นฐาน การอพยพย้ายถิ่นฐานมาจากสาเหตุหลายประการ เช่น สภาพเศรษฐกิจต้องไปประกอบอาชีพยังประเทศต่าง ๆ ภัยสงคราม การเมืองการปกครอง
คำภาษาไทยที่ยืมมาจากภาษาต่างประเทศ
จากสาเหตุข้างต้น ไทยได้ยืมคำภาษาต่าง ๆ เข้ามาใช้ปะปนในภาษาไทยหลายภาษาด้วยกัน ดังนี้
- บาลี กัญญา ขัตติยะ วิชา สันติ อิตถี
- สันสกฤต บริษัท โฆษณา ประกาศ ภรรยา แพทย์
- จีน ก๋วยเตี๋ยว ซาลาเปา เต้าฮวย บะหมี่ ลิ้นจี่
- อังกฤษ กอล์ฟ โปรตีน คลินิก ฟอสฟอรัส นิวเคลี์ยร
- เขมร กังวล ถนน บำเพ็ญ เผด็จ เสวย
- ชวา-มลายู กริช กระดังงา ซ่าหริ่ม ปาหนัน อังกะลุง อุรังอุตัง
- เปอร์เซีย กุหลาบ คาราวาน ตราชู บัดกรี สักหลาด
- โปรตุเกส กะละแม กะละมัง สบู่ เลหลัง ปิ่นโต
- ฝรั่งเศส กงสุล ครัวซองต์ คูปอง แชมเปญ บุฟเฟ่ต์
- ญี่ปุ่น กิโมโน คาราเต้ ซูโม ยูโด สุกี้ยากี้
- ทมิฬ กะไหล่ กุลี กานพลู กำมะหยี่ อาจาด
- อาหรับ กะลาสี การบูร กั้นหยั่น กะไหล่ ฝิ่น
- มอญ มะ เม้ย เปิงมาง พลาย ประเคน
- พม่า หม่อง กะปิ ส่วย
ภาษาที่มีใช้ในภาษาไทยเป็นจำนวนมาก คือ ภาษาบาลี สันสกฤต เขมร จีน อังกฤษ โดยเฉพาะภาษาบาลี สันสกฤต เขมร จีน ไทยนำมาใช้และมีการเปลี่ยนแปลงรูปคำจนดูกลมกลืนกับภาษาไทยแทบจะจำแนกไม่ได้ว่าเป็นคำมาจากภาษาอื่น
แบ่งพยัญชนะเป็นวรรคตามฐานที่เกิดและมีหลักตัวสะกดตัวตามที่แน่นอน ดังนี้
พยัญชนะวรรคของภาษาบาลี
คำภาษาบาลีและสันสกฤตที่มีใช้ในภาษาไทย
ในบรรดาภาษาต่างประเทศที่มีอิทธิพลต่อภาษาไทยมากที่สุด คือ ภาษาบาลีและภาษาสันสกฤต คำยืมในภาษาไทยที่ยืมมาจากทั้งสองภาษานี้ เป็นคำที่มีใช้ในชีวิตประจำวันเป็นจำนวนมากทั้งภาษาพูดและภาษาเขียน ภาษาบาลีเข้ามาทางศาสนาพุทธ ส่วนภาษาสันสกฤตเข้ามาทางศาสนาพราหมณ์และวรรณคดีเรื่องมหาภารตะและรามายณะ
ลักษณะคำไทยที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต มีหลักสังเกตดังนี้
ลักษณะคำไทยที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต มีหลักสังเกตดังนี้
- มักเป็นคำหลายพยางค์ เช่น กษัตริย์ พฤกษา ศาสนา อุทยาน ทัศนะ เป็นต้น
- ตัวสะกดมักไม่ตรงตามมาตรา เช่น เทวัญ เนตร อากาศ พิเศษ อาหาร เป็นต้น
- นิยมมีตัวการันต์ เช่น กาญจน์ เกณฑ์ มนุษย์ สัมภาษณ์ อาทิตย์ เป็นต้น
- ประสมด้วยพยัญชนะ ฆ ฌ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ ภ ศ ษ ฤ ฤๅ เช่น
พยัคฆ์ อัชฌาสัย กฎ ปรากฏ สัณฐาน ครุฑ วัฒนา เณร โลภ ศึกษา บุรุษ ฤทัย เป็นต้น
ยกเว้น ฆ่า เฆี่ยน ฆ้อง ศอก ศึก เศิก เศร้า ทั้งหมดนี้เป็นคำไทยแท้
คำยืมที่มาจากภาษาบาลี
ภาษาบาลี เป็นภาษาตระกูลเดียวกับภาษาสันสกฤต คือ ภาษาตระกูลวิภัตติปัจจัย จึงมีลักษณะคล้ายคลึงกันมาก ข้อสังเกตและตัวอย่างคำภาษาบาลี นิยมใช้ ฬ เช่น กีฬา จุฬา ครุฬ นาฬิกา วิฬาร์ อาสาฬห เป็นต้น ประสมด้วยสระ อะ อิ อุ แทน ฤ ในภาษาสันสกฤต เช่น อิทธิ อิสิ
นิยมใช้พยัญชนะ 2 ตัวซ้อนกัน กิตติ นิพพาน ปัจจัย ปัญญา บุคคล บัลลังก์ ภัตตา มัจจุราช เมตตา วิญญาณ สัญญาณ อัคคี อนิจจา
ภาษาบาลี เป็นภาษาตระกูลเดียวกับภาษาสันสกฤต คือ ภาษาตระกูลวิภัตติปัจจัย จึงมีลักษณะคล้ายคลึงกันมาก ข้อสังเกตและตัวอย่างคำภาษาบาลี นิยมใช้ ฬ เช่น กีฬา จุฬา ครุฬ นาฬิกา วิฬาร์ อาสาฬห เป็นต้น ประสมด้วยสระ อะ อิ อุ แทน ฤ ในภาษาสันสกฤต เช่น อิทธิ อิสิ
นิยมใช้พยัญชนะ 2 ตัวซ้อนกัน กิตติ นิพพาน ปัจจัย ปัญญา บุคคล บัลลังก์ ภัตตา มัจจุราช เมตตา วิญญาณ สัญญาณ อัคคี อนิจจา
แบ่งพยัญชนะเป็นวรรคตามฐานที่เกิดและมีหลักตัวสะกดตัวตามที่แน่นอน ดังนี้
พยัญชนะวรรคของภาษาบาลี
หลักตัวสะกดตัวตามภาษาบาลี
1. คำบาลี เมื่อมีตัวสะกดต้องมีตัวตาม
2. พยัญชนะที่เป็นตัวสะกดได้ คือ พยัญชนะแถวที่ 1, 3, 5
3. พยัญชนะแถวที่ 1 สะกด พยัญชนะแถวที่ 1, 2 ในวรรคเดียวกันตาม เช่น สักกะ ทุกข์ สัจจะ มัจฉา อิตถี หัตถ์ บุปผา เป็นต้น
4. พยัญชนะแถวที่ 3 สะกด พยัญชนะแถวที่ 3, 4 ในวรรคเดียวกันเป็นตัวตาม เช่น พยัคฆ์ พุทธ อัคคี อัชฌาสัย อวิชชา เป็นต้น
5. พยัญชนะแถวที่ 5 สะกด พยัญชนะทุกตัวในวรรคเดียวกันตามได้ เช่น สังข์ องค์ สงฆ์ สัญชาติ สัณฐาน สันดาป สันธาน สัมผัส สัมพันธ์ คัมภีร์ อัมพร เป็นต้น
6. พยัญชนะเศษวรรค เป็นตัวสะกดได้บางตัว เช่น อัยกา มัลลิกา วิรุฬห์ ชิวหา เป็นต้น
ตัวอย่างคำภาษาบาลี
กิตติ กิเลส กิริยา กีฬา เขต ขณะ คิมหันต์ จตุบท จิต จุฬา โจร เจดีย์ จุติ ฉิมพลี ญาติ ดิถี ดารา ดุริยะ เดชะ ทัพพี ทิฐิ นาฬิกา นิพพาน นิลุบล ปฏิทิน ปฏิบัติ ปฐพี ปกติ ปัญญา ปัจจัย บุคคล บัลลังก์ บุปผา โบกขรณี ปฐม ปัญหา พยัคฆ์ พรหม ภัตตา ภิกขุ ภริยา มัจจุราช มัจฉา มัชฌิม มหันต์ เมตตา มิจฉา มเหสี มุสา มัสสุ รัตนา โลหิต วัตถุ วิชา วิญญาณ วิตถาร วิริยะ วิสุทธิ์ วุฒิ สงกา สังข์ สงฆ์ สูญ สิริ สันติ สัญญาณ เสมหะ สัจจะ สติ โสมนัส อิทธิ อัคคี อัจฉรา อนิจจา อัชฌาสัย อายุ อาสาฬห โอวาท โอรส โอกาส อุบล
1. คำบาลี เมื่อมีตัวสะกดต้องมีตัวตาม
2. พยัญชนะที่เป็นตัวสะกดได้ คือ พยัญชนะแถวที่ 1, 3, 5
3. พยัญชนะแถวที่ 1 สะกด พยัญชนะแถวที่ 1, 2 ในวรรคเดียวกันตาม เช่น สักกะ ทุกข์ สัจจะ มัจฉา อิตถี หัตถ์ บุปผา เป็นต้น
4. พยัญชนะแถวที่ 3 สะกด พยัญชนะแถวที่ 3, 4 ในวรรคเดียวกันเป็นตัวตาม เช่น พยัคฆ์ พุทธ อัคคี อัชฌาสัย อวิชชา เป็นต้น
5. พยัญชนะแถวที่ 5 สะกด พยัญชนะทุกตัวในวรรคเดียวกันตามได้ เช่น สังข์ องค์ สงฆ์ สัญชาติ สัณฐาน สันดาป สันธาน สัมผัส สัมพันธ์ คัมภีร์ อัมพร เป็นต้น
6. พยัญชนะเศษวรรค เป็นตัวสะกดได้บางตัว เช่น อัยกา มัลลิกา วิรุฬห์ ชิวหา เป็นต้น
ตัวอย่างคำภาษาบาลี
กิตติ กิเลส กิริยา กีฬา เขต ขณะ คิมหันต์ จตุบท จิต จุฬา โจร เจดีย์ จุติ ฉิมพลี ญาติ ดิถี ดารา ดุริยะ เดชะ ทัพพี ทิฐิ นาฬิกา นิพพาน นิลุบล ปฏิทิน ปฏิบัติ ปฐพี ปกติ ปัญญา ปัจจัย บุคคล บัลลังก์ บุปผา โบกขรณี ปฐม ปัญหา พยัคฆ์ พรหม ภัตตา ภิกขุ ภริยา มัจจุราช มัจฉา มัชฌิม มหันต์ เมตตา มิจฉา มเหสี มุสา มัสสุ รัตนา โลหิต วัตถุ วิชา วิญญาณ วิตถาร วิริยะ วิสุทธิ์ วุฒิ สงกา สังข์ สงฆ์ สูญ สิริ สันติ สัญญาณ เสมหะ สัจจะ สติ โสมนัส อิทธิ อัคคี อัจฉรา อนิจจา อัชฌาสัย อายุ อาสาฬห โอวาท โอรส โอกาส อุบล
คำยืมที่มาจากภาษาอังกฤษ
ภาษาอังกฤษเป็นภาษาในตระกูลอินโด-ยุโรเปียน มีวิภัตติปัจจัย เช่นเดียวกับภาษาบาลี-สันสกฤต ภาษาอังกฤษได้รับความนิยมใช้เป็นภาษาเพื่อการสื่อสารมากที่สุด มีประเทศต่าง ๆ ยอมรับภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ ภาษาอังกฤษจึงกลาย เป็นภาษาสากลของชาวโลก คนไทยได้ศึกษาภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองมาเป็นเวลานาน จนภาษาอังกฤษเข้ามามีอิทธิพลต่อชีวิตของคนไทยมากขึ้น ทั้งในด้านการพูดและการเขียนสื่อสารในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะในปัจจุบันคนไทยศึกษาความรู้และวิทยาการต่าง ๆ จากตำราภาษาอังกฤษ และสนใจเรียนรู้ภาษาอังกฤษกันมากขึ้น คำยืมจากภาษาอังกฤษจึงหลั่งไหลเข้ามาในภาษาไทยมากขึ้นทุกขณะทั้งในวงการศึกษา ธุรกิจ การเมือง การบันเทิง เป็นต้น
การยืมคำภาษาอังกฤษมาใช้ในภาษาไทย
การยืมคำภาษาอังกฤษมาใช้ในภาษาไทย
- การทับศัพท์ โดยการถ่ายเสียงและถอดตัวอักษร คำยืมจากภาษาอังกฤษโดยวิธีการทับศัพท์มีจำนวนมาก คำบางคำราชบัณฑิตยสถานได้บัญญัติศัพท์เป็นคำไทยแล้ว แต่คนไทยนิยมใช้คำทับศัพท์มากกว่า เพราะเข้าใจง่าย สื่อสารได้ชัดเจน เช่น
คำภาษาอังกฤษ คำทับศัพท์
game เกม
graph กราฟ
cartoon การ์ตูน
clinic คลินิก
quota โควตา
dinosaur ไดโนเสาร์
technology เทคโนโลยี
- การบัญญัติศัพท์ เป็นวิธีการยืมคำ โดยรับเอาเฉพาะความคิดเกี่ยวกับเรื่องนั้นมาแล้วสร้างคำขึ้นใหม่ ซึ่งมีเสียงแตกต่างไปจากคำเดิม โดยเฉพาะศัพท์ทางวิชาการจะใช้วิธีการนี้มาก ผู้ที่มีหน้าที่บัญญัติศัพท์ภาษาไทยแทนคำภาษาอังกฤษ คือ ราชบัณฑิตยสถาน เช่น
คำภาษาอังกฤษ คำบัญญัติศัพท์
airport สนามบิน
globalization โลกาภิวัตน์
science วิทยาศาสตร์
telephone โทรศัพท์
reform ปฏิรูป - การแปลศัพท์ วิธีการนี้จะต้องใช้วิธีการคิดแปลเป็นคำภาษาไทยให้มีความหมายตรงกับคำในภาษาอังกฤษ แล้วนำคำนั้นมาใช้สื่อสารในภาษาไทยต่อไป ดังตัวอย่างเช่น
blackboard กระดานดำ
enjoy สนุก
handbook หนังสือคู่มือ
school โรงเรียน
short story เรื่องสั้น
ตัวอย่างคำทับศัพท์ภาษาอังกฤษที่มีใช้ในภาษาไทย
กราฟ การ์ตูน กิ๊บ กลูโคส กัปตัน แก๊ส กุ๊ก เกียร์ แก๊ง แกลลอน คริสต์มาส ไดนาโม ไดโนเสาร์ ครีม คลอรีน คอนกรีต คลินิก คอนเสิร์ต คอมพิวเตอร์ คุกกี้ เคเบิล เครดิต แคปซูล เคาน์เตอร์ แคลอรี โควตา ชอล์ก ช็อกโกเลต เช็ค เชิ้ต เชียร์ โชว์ ซีเมนต์ เซลล์ ไซเรน ดีเซลดอลลาร์ ดีเปรสชั่น เต็นท์ ทอนซิล เทอม แท็กซี่ แทรกเตอร์ นิโคติน นิวเคลียร์ นีออน นิวเคลียส โน้ต ไนลอน บล็อก เบนซิน แบคทีเรีย ปลั๊ก ปิกนิก เปอร์เซ็นต์ พลาสติก พีระมิด ฟลูออรีน ฟอร์มาลีน ฟังก์ชัน ฟาร์ม ฟิสิกส์ มอเตอร์ มัมมี่ มาเลเรีย โมเลกุล ไมล์ ไมโครโฟน ไมโครเวฟ ยิปซัม ยีราฟ ริบบิ้น เรดาร์ ลิกไนต์ ลิปสติก เลเซอร์ วัคซีน วิตามิน ไวโอลิน
ตัวอย่างคำยืมที่มาจากภาษาอังกฤษ
ช็อคโกแลตแสนวิเศษ แก๊สก๊าซเหตุอัคคีภัย
ฟุตบอลล็อกทีมไหน บุกกิงได้ถ้าใครเชียร์
อังกฤษคิดทับศัพท์ หลักเกณฑ์นับจนหัวเสีย
มากมายอ่านจนเพลีย เพื่อนช่วยเคลียร์วิจารณ์ที
กราฟ การ์ตูน กิ๊บ กลูโคส กัปตัน แก๊ส กุ๊ก เกียร์ แก๊ง แกลลอน คริสต์มาส ไดนาโม ไดโนเสาร์ ครีม คลอรีน คอนกรีต คลินิก คอนเสิร์ต คอมพิวเตอร์ คุกกี้ เคเบิล เครดิต แคปซูล เคาน์เตอร์ แคลอรี โควตา ชอล์ก ช็อกโกเลต เช็ค เชิ้ต เชียร์ โชว์ ซีเมนต์ เซลล์ ไซเรน ดีเซลดอลลาร์ ดีเปรสชั่น เต็นท์ ทอนซิล เทอม แท็กซี่ แทรกเตอร์ นิโคติน นิวเคลียร์ นีออน นิวเคลียส โน้ต ไนลอน บล็อก เบนซิน แบคทีเรีย ปลั๊ก ปิกนิก เปอร์เซ็นต์ พลาสติก พีระมิด ฟลูออรีน ฟอร์มาลีน ฟังก์ชัน ฟาร์ม ฟิสิกส์ มอเตอร์ มัมมี่ มาเลเรีย โมเลกุล ไมล์ ไมโครโฟน ไมโครเวฟ ยิปซัม ยีราฟ ริบบิ้น เรดาร์ ลิกไนต์ ลิปสติก เลเซอร์ วัคซีน วิตามิน ไวโอลิน
ตัวอย่างคำยืมที่มาจากภาษาอังกฤษ
ช็อคโกแลตแสนวิเศษ แก๊สก๊าซเหตุอัคคีภัย
ฟุตบอลล็อกทีมไหน บุกกิงได้ถ้าใครเชียร์
อังกฤษคิดทับศัพท์ หลักเกณฑ์นับจนหัวเสีย
มากมายอ่านจนเพลีย เพื่อนช่วยเคลียร์วิจารณ์ที
คำยืมภาษาจีนที่มีใช้ในภาษาไทย
ไทยและจีนเป็นมิตรประเทศที่ติดต่อเจริญสัมพันธไมตรี และค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้าและศิลปะ วัฒนธรรมอันดีงามมาช้านาน ชาวจีนที่มาค้าขายได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก ภาษาจีนจึงเข้ามาสู่ไทยโดยทางเชื้อชาติ นอกจากนี้ภาษาจีนและภาษาไทยยังมีลักษณะที่คล้ายคลึงกัน จึงทำให้มีคำภาษาจีนเข้ามาปะปนอยู่ในภาษาไทยจนแทบแยกกันไม่ออก
การยืมคำภาษาจีนมาใช้ในภาษาไทยนั้น เราได้มาจากภาษาพูดไม่ใช่ภาษาเขียน เพราะระบบการเขียนภาษาจีนต่างกับภาษาไทยมาก ภาษาจีนเขียนอักษรแทนคำเป็นตัว ๆ ไม่มีการประสมสระ พยัญชนะ คำภาษาจีนที่มีใช้ในภาษาไทย นำมาเป็นคำเรียกชื่อ เครื่องใช้แบบจีน ยาสมุนไพร สัตว์ อาหาร เครื่องแต่งกาย ธุรกิจการค้า มหรสพ และอื่น ๆ
ภาษาจีนมีลักษณะคล้ายคลึงกับภาษาไทยมาก คือ เป็นภาษาคำโดด มีเสียงวรรณยุกต์ย เมื่อนำคำภาษาจีนมาใช้ในภาษาไทยซึ่งมีวรรณยุกต์และสระประสมใช้จึงทำให้สามารถออกเสียงวรรณยุกต์และสระตามภาษาจีนได้อย่างง่ายดาย คำภาษาจีนยังมีคำที่บอกเพศในตัวเช่นเดียวกับภาษาไทยอีกด้วย เช่น เฮีย (พี่ชาย) ซ้อ (พี่สะใภ้) เจ๊ (พี่สาว) นอกจากนี้การสะกดคำภาษาจีนในภาษาไทยยังใช้ตัวสะกดตรงตามมาตราตัวสะกดทั้ง 8 มาตราและมีการใช้ทัณฑฆาต หรือตัวการันต์ด้วย
หลักการสังเกตคำภาษาไทยที่มาจากภาษาจีน
การยืมคำภาษาจีนมาใช้ในภาษาไทยนั้น เราได้มาจากภาษาพูดไม่ใช่ภาษาเขียน เพราะระบบการเขียนภาษาจีนต่างกับภาษาไทยมาก ภาษาจีนเขียนอักษรแทนคำเป็นตัว ๆ ไม่มีการประสมสระ พยัญชนะ คำภาษาจีนที่มีใช้ในภาษาไทย นำมาเป็นคำเรียกชื่อ เครื่องใช้แบบจีน ยาสมุนไพร สัตว์ อาหาร เครื่องแต่งกาย ธุรกิจการค้า มหรสพ และอื่น ๆ
ภาษาจีนมีลักษณะคล้ายคลึงกับภาษาไทยมาก คือ เป็นภาษาคำโดด มีเสียงวรรณยุกต์ย เมื่อนำคำภาษาจีนมาใช้ในภาษาไทยซึ่งมีวรรณยุกต์และสระประสมใช้จึงทำให้สามารถออกเสียงวรรณยุกต์และสระตามภาษาจีนได้อย่างง่ายดาย คำภาษาจีนยังมีคำที่บอกเพศในตัวเช่นเดียวกับภาษาไทยอีกด้วย เช่น เฮีย (พี่ชาย) ซ้อ (พี่สะใภ้) เจ๊ (พี่สาว) นอกจากนี้การสะกดคำภาษาจีนในภาษาไทยยังใช้ตัวสะกดตรงตามมาตราตัวสะกดทั้ง 8 มาตราและมีการใช้ทัณฑฆาต หรือตัวการันต์ด้วย
หลักการสังเกตคำภาษาไทยที่มาจากภาษาจีน
- นำมาเป็นชื่ออาหารการกิน เช่น ก๋วยเตี๋ยว เต้าทึง แป๊ะซะ เฉาก๊วย จับฉ่าย เป็นต้น
- เป็นคำที่เกี่ยวกับสิ่งของเครื่องใช้ที่เรารับมาจากชาวจีน เช่น ตะหลิว ตึก เก้าอี้ เก๋ง ฮวงซุ้ย
- เป็นคำที่เกี่ยวกับการค้าและการจัดระบบทางการค้า เช่น เจ๋ง บ๋วย หุ้น ห้าง โสหุ้ย เป็นต้น
- เป็นคำที่ใช้วรรณยุกต์ตรี จัตวา เป็นส่วนมาก เช่น ก๋วยจั๊บ กุ๊ย เก๊ เก๊ก ก๋ง ตุ๋น เป็นต้น
วิธีนำคำยืมภาษาจีนมาใช้ในภาษาไทย
ไทยนำคำภาษาจีนมาใช้ โดยมากไทยเลียนเสียงจีนได้ใกล้เคียงกว่าชาติอื่น ๆ เช่น เกาเหลา ตั้งฉ่าย เต้าทึง เต้าหู้ เต้าฮวย บะฉ่อ พะโล้ แฮ่กึ้น เป็นต้น มีบางคำที่นำมาตัดทอนและเปลี่ยนเสียง เช่น เตี้ยะหลิว ตะหลิว บ๊ะหมี่ บะหมี่ ปุ้งกี ปุ้งกี๋
ตัวอย่างคำยืมที่มาจากภาษาจีน
กงสี กงฉิน กงไฉ่ กงเต็ก ก๋วยเตี๋ยว ก๋วยจั๊บ เกาหลา กุ๊ย เก๊ เก๊ก เกี้ยว เกี๊ยว เกี๊ยะ กุยเฮง เก๊ก ก๋ง เก้าอี้ ขาก๊วย เข่ง จับกัง จับฉ่าย จับยี่กี จันอับ เจ๊ง เจี๋ยน เจ เฉาก๊วย เซ้ง เซียน แซ่ แซยิด เซ็งลี้ ซาลาเปา ซิ้ม ตะหลิว เต๋า ตุน ตุ๋น แต๊ะเอีย เต้าหู้ เต้าฮวย เต้าเจี้ยว โต๊ะ ไต้ก๋ง ตังเก บ๊วย บะฉ่อ บะหมี่ บู๊ ปุ้งกี๋ ปอเปี๊ยะ แป๊ะเจี๊ยะ พะโล้ เย็นตาโฟ หวย ยี่ห้อ ลิ้นจี่ ห้าง หุ้น เอี๊ยม โสหุ้ย เฮงซวย ฮวงซุ้ย ฮ่องเต้ อั้งโล่
ตัวอย่างคำยืมที่มาจากภาษาจีน
ก๋วยเตี๋ยวเกี๊ยวบะหมี่ พะโล้นี้ช่างน่าสน
เกาเหลาจับฉ่ายปน ตะหลิวคนตักเฉาก๊วย
อาหารจานเด็ดนี้ ล้วนมากมีสีสันสวย
คนไทยใช้มากด้วย สื่อกันมาภาษาจีน
ไทยนำคำภาษาจีนมาใช้ โดยมากไทยเลียนเสียงจีนได้ใกล้เคียงกว่าชาติอื่น ๆ เช่น เกาเหลา ตั้งฉ่าย เต้าทึง เต้าหู้ เต้าฮวย บะฉ่อ พะโล้ แฮ่กึ้น เป็นต้น มีบางคำที่นำมาตัดทอนและเปลี่ยนเสียง เช่น เตี้ยะหลิว ตะหลิว บ๊ะหมี่ บะหมี่ ปุ้งกี ปุ้งกี๋
ตัวอย่างคำยืมที่มาจากภาษาจีน
กงสี กงฉิน กงไฉ่ กงเต็ก ก๋วยเตี๋ยว ก๋วยจั๊บ เกาหลา กุ๊ย เก๊ เก๊ก เกี้ยว เกี๊ยว เกี๊ยะ กุยเฮง เก๊ก ก๋ง เก้าอี้ ขาก๊วย เข่ง จับกัง จับฉ่าย จับยี่กี จันอับ เจ๊ง เจี๋ยน เจ เฉาก๊วย เซ้ง เซียน แซ่ แซยิด เซ็งลี้ ซาลาเปา ซิ้ม ตะหลิว เต๋า ตุน ตุ๋น แต๊ะเอีย เต้าหู้ เต้าฮวย เต้าเจี้ยว โต๊ะ ไต้ก๋ง ตังเก บ๊วย บะฉ่อ บะหมี่ บู๊ ปุ้งกี๋ ปอเปี๊ยะ แป๊ะเจี๊ยะ พะโล้ เย็นตาโฟ หวย ยี่ห้อ ลิ้นจี่ ห้าง หุ้น เอี๊ยม โสหุ้ย เฮงซวย ฮวงซุ้ย ฮ่องเต้ อั้งโล่
ตัวอย่างคำยืมที่มาจากภาษาจีน
ก๋วยเตี๋ยวเกี๊ยวบะหมี่ พะโล้นี้ช่างน่าสน
เกาเหลาจับฉ่ายปน ตะหลิวคนตักเฉาก๊วย
อาหารจานเด็ดนี้ ล้วนมากมีสีสันสวย
คนไทยใช้มากด้วย สื่อกันมาภาษาจีน
คำภาษาเขมรในภาษาไทย
ภาษาเขมรเป็นภาษาคำโดด จัดอยู่ในตระกูลมอญ-เขมร คำดั้งเดิมส่วนใหญ่เป็น
คำพยางค์เดียวและเป็นคำโดด ถือเอาการเรียงคำเข้าประโยคเป็นสำคัญเช่นเดียวกับภาษาไทย แต่มีลักษณะบางอย่างต่างไปจากภาษาไทย
ลักษณะคำภาษาเขมรในภาษาไทย
คำพยางค์เดียวและเป็นคำโดด ถือเอาการเรียงคำเข้าประโยคเป็นสำคัญเช่นเดียวกับภาษาไทย แต่มีลักษณะบางอย่างต่างไปจากภาษาไทย
ลักษณะคำภาษาเขมรในภาษาไทย
- มักจะสะกดด้วย จ ญ ร ล เช่น เผด็จ บำเพ็ญ กำธร ถกล ตรัส
- มักเป็นคำควบกล้ำ เช่น ไกร ขลัง ปรุง
- มักใช้ บัง บัน บำ นำหน้าคำที่มีสองพยางค์ เช่น
บัง บังคับ บังคม บังเหียน บังเกิด บังคล บังอาจ
บัน บันได บันโดย บันเดิน บันดาล บันลือ
บำ บำเพ็ญ บำบัด บำเหน็จ บำบวง - นิยมใช้อักษรนำ เช่น สนุก สนาน เสด็จ ถนน เฉลียว เป็นต้น
- คำเขมรส่วนมากใช้เป็นราชาศัพท์ เช่น ขนง ขนอง เขนย เสวย บรรทม เสด็จ โปรด เป็นต้น
- มักแผลงคำได้ เช่น
- ข แผลงเป็น กระ เช่น ขดาน เป็น กระดาน ขจอก เป็น กระจอก
- ผ แผลงเป็น ประ ผสม - ประสม ผจญ - ประจญ
- ประ แผลงเป็น บรร ประทม เป็น บรรทม ประจุ - บรรจุ ประจง - บรรจง
การยืมคำภาษาเขมรมาใช้ในภาษาไทย
- ยืมมาใช้โดยตรง เช่น กระดาน กระท่อม กะทิ บัง โปรด ผกา เป็นต้น
- ยืมเอาคำที่แผลงแล้วมาใช้ เช่น กังวล บำบัด แผนก ผจัญ
- ยืมทั้งคำเดิมและคำที่แผลงแล้วมาใช้ เช่น เกิด-กำเนิด ขลัง-กำลัง เดิน-ดำเนิน ตรา-ตำรา บวช-ผนวช
- ใช้เป็นคำสามัญทั่วไป เช่น ขนุน เจริญ ฉงน ถนอม สงบ เป็นต้น
- ใช้เป็นคำในวรรณคดี เช่น ขจี เชวง เมิล สดำ สลา เป็นต้น
- ใช้เป็นคำราชาศัพท์ เช่น เขนาย ตรัส ทูล บรรทม เสวย เป็นต้น
- นำมาใช้ทั้งเป็นภาษาพูดและภาษาเขียน
ตัวอย่างภาษาเขมรในภาษาไทย
กระชับ กระโดง กระเดียด กระบอง กระบือ กระท่อม กระโถน กระพัง ตระพัง ตะพัง กระเพาะ กระแส กังวล กำจัด กำเดา รัญจวน ลออ สกัด สนอง สนุก สดับ สบง สังกัด สไบสำราญ สรร สำโรง แสวง แสดง กำแพง กำลัง ขนาน ขจี โขมด จัด เฉพาะ ฉบับ เชลย โดยทรวง ถนน บายศรี ประกายพรึก ปรับ ประจาน โปรด เผด็จ ผจญ ผจัญ เผอิญ เผชิญ เพ็ญเพลิง เพนียด ระลอก
บทเพลงคำยืมที่มาจากภาษาเขมร
คำเขมรที่ใช้ปนมาอยู่ในภาษาไทยมีมากหลาย
เราคนไทยใช้กันจนเก่า เรานิยมใช้เป็นราชาศัพท์ เช่น สนับเพลา
เสด็จ เสวย เขนย ขนง อีกธำมรงค์ ผทม สรง และพระศรี
มีทั้งคำ บัง บัน บรร และบำ นำหน้าคำที่มีสองพยางค์
บังเอิญ และ บังคับ ทั้งบรรเจิด บรรสาน บันดาล และบำนาญนั่น
ยังมีคำที่นำด้วย กำ คำ จำ และ ทำ ดำ ตำ กับ ชำ
ใช้นำหน้าคำอีกเช่นกัน นั่นคือ กำเนิด จำเริญ
ดำรง คำนับ ชำนาญ กำนัล ทำนบ และตำรวจนั้นก็คำเขมรไง
ยังมีคำที่มีอักษรนำ ควบกล้ำ เราใช้ปนคำไทย รู้กันดีว่า
ขจี เจริญ โขลน ทวาร และเผอิญ เผชิญ เสน่ง สลา
ขจร ขจาย ผกาย ผกา เหล่านี้นา ล้วนมาจาก เขมร
กระชับ กระโดง กระเดียด กระบอง กระบือ กระท่อม กระโถน กระพัง ตระพัง ตะพัง กระเพาะ กระแส กังวล กำจัด กำเดา รัญจวน ลออ สกัด สนอง สนุก สดับ สบง สังกัด สไบสำราญ สรร สำโรง แสวง แสดง กำแพง กำลัง ขนาน ขจี โขมด จัด เฉพาะ ฉบับ เชลย โดยทรวง ถนน บายศรี ประกายพรึก ปรับ ประจาน โปรด เผด็จ ผจญ ผจัญ เผอิญ เผชิญ เพ็ญเพลิง เพนียด ระลอก
บทเพลงคำยืมที่มาจากภาษาเขมร
คำเขมรที่ใช้ปนมาอยู่ในภาษาไทยมีมากหลาย
เราคนไทยใช้กันจนเก่า เรานิยมใช้เป็นราชาศัพท์ เช่น สนับเพลา
เสด็จ เสวย เขนย ขนง อีกธำมรงค์ ผทม สรง และพระศรี
มีทั้งคำ บัง บัน บรร และบำ นำหน้าคำที่มีสองพยางค์
บังเอิญ และ บังคับ ทั้งบรรเจิด บรรสาน บันดาล และบำนาญนั่น
ยังมีคำที่นำด้วย กำ คำ จำ และ ทำ ดำ ตำ กับ ชำ
ใช้นำหน้าคำอีกเช่นกัน นั่นคือ กำเนิด จำเริญ
ดำรง คำนับ ชำนาญ กำนัล ทำนบ และตำรวจนั้นก็คำเขมรไง
ยังมีคำที่มีอักษรนำ ควบกล้ำ เราใช้ปนคำไทย รู้กันดีว่า
ขจี เจริญ โขลน ทวาร และเผอิญ เผชิญ เสน่ง สลา
ขจร ขจาย ผกาย ผกา เหล่านี้นา ล้วนมาจาก เขมร
คำภาษาชวา-มลายูที่มีใช้ในภาษาไทย
ภาษาชวา ปัจจุบันเรียกว่าภาษาอินโดนีเซีย เป็นภาษาตระกูลคำติดต่อ ตระกูลเดียวกับภาษามลายู ภาษาชวาที่ไทยยืมมาใช้ส่วนมากเป็นภาษาเขียน ซึ่งรับมาจากวรรณคดีเรื่อง ดาหลังและอิเหนาเป็นส่วนใหญ่ ถ้อยคำภาษาเหล่านี้ใช้สื่อสารในวรรณคดี และในบทร้อยกรองต่าง ๆ มากกว่าคำที่นำมาใช้สื่อสารในชีวิตประจำวัน
ภาษามลายูหรือภาษามาเลย์ ปัจจุบันเรียกว่า ภาษามาเลเซีย เป็นภาษาคำติดต่อ อยู่ในตระกูลภาษาชวา-มลายู คำส่วนใหญ่จะมีสองพยางค์และสามพยางค์ เข้ามาปะปนในภาษาไทยเพราะมีเขตแดนติดต่อกัน จึงติดต่อสัมพันธ์กันทั้งทางด้านการค้าขาย ศาสนา วัฒนธรรม มาเป็นเวลานาน โดยเฉพาะจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ ยะลา สงขลา ปัตตานี นราธิวาส และสตูล ยังคงใช้ภาษามลายูสื่อสารในชีวิตประจำวันอยู่เป็นจำนวนมาก
การยืมคำภาษาชวา-มลายูมาใช้ในภาษาไทย
ภาษามลายูหรือภาษามาเลย์ ปัจจุบันเรียกว่า ภาษามาเลเซีย เป็นภาษาคำติดต่อ อยู่ในตระกูลภาษาชวา-มลายู คำส่วนใหญ่จะมีสองพยางค์และสามพยางค์ เข้ามาปะปนในภาษาไทยเพราะมีเขตแดนติดต่อกัน จึงติดต่อสัมพันธ์กันทั้งทางด้านการค้าขาย ศาสนา วัฒนธรรม มาเป็นเวลานาน โดยเฉพาะจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ ยะลา สงขลา ปัตตานี นราธิวาส และสตูล ยังคงใช้ภาษามลายูสื่อสารในชีวิตประจำวันอยู่เป็นจำนวนมาก
การยืมคำภาษาชวา-มลายูมาใช้ในภาษาไทย
- ใช้ในการแต่งคำประพันธ์ เช่น บุหรง บุหลัน ระตู ปาหนัน ตุนาหงัน เป็นต้น
- ใช้สื่อสารในชีวิตประจำวัน เช่น กัลปังหา กุญแจ กระดังงา ซ่าหริ่ม ประทัด เป็นต้น
- นำมาใช้ในความหมายคงเดิม เช่น ทุเรียน น้อยหน่า บุหลัน เป็นต้น
ตัวอย่างคำภาษาชวา-มลายูในภาษาไทย
กะพง กระจูด กะลาสี กะลุมพี กำยาน กำปั่น กระยาหงัน (สวรรค์) กะละปังหา กระแชง จับปิ้ง จำปาดะ ตลับ ทุเรียน บูดู ปาเต๊ะ มังคุด สละ สลัก สลาตัน สลัด สุจหนี่ โสร่ง หนัง ยะลา เบตง น้อยหน่า กริช กิดาหยัน (มหาดเล็ก) กุหนุง (เขาสูง) กุญแจ การะบุหนิง (ดอกแก้ว) กระดังงา อิเหนา อังกะลุง อสัญแดหวา (เทวดา) ตุนาหงัน (คู่หมั้น) ยิหวา (ดวงใจ) บุหรง (นกยูง) บุหลัน (ดวงจันทร์) บุหงา (ดอกไม้) อุรังอุตัง สะตาหมัน (สวน) บุหงารำไป ปาหนัน (ดอกลำเจียก) รำมะนา การะบุหนิง (ดอกแก้ว) กิดาหยัน (มหาดเล็ก) ซ่าโบะ (ผ้าห่ม) ซ่าหริ่ม ดาหงัน (สงคราม) ปันหยี ปั้นเหน่ง ประทัด บุษบามินตรา (ดอกพุทธรักษา) มาลาตี (ดอกมะลิ) มินตรา (ต้นกระถิน) มิรันตี (ดาวเรือง) สะการะตาหรา (ดอกกรรณิการ์) ตันหยง (ดอกพิกุล) กาหลา (ชื่อดอกไม้) ประไหมสุหรี มะเดหวี ระตู (เจ้าเมือง)
เพลงคำยืมที่มาจากภาษาชวา
มาซิมาร้องรำทำเพลง ให้ครื้นเครงร้องเพลงชวา
กระยาหงันคือวิมานเทวา สะตาหมันอุทยานแนวไพร
อสัญแดหวาเทวดา ซ่าหริ่มนั้นหนาหวานเย็นชื่นใจ
ปั้นเหน่งเข็มขัดรัดเอวทรามวัย ประไหมสุหรี มเหสีราชา
บุหลันนั้นคือพระจันทร์อำไพ บุหงารำไปคือดอกไม้นานา
พุทธรักษา บุษบามินตรา ระเด่นโอรสา ยิหวาดวงใจ
มาซิมาร้องรำทำเพลง ให้ครื้นเครงร้องเพลงชวา
กระยาหงันคือวิมานเทวา สะตาหมันอุทยานแนวไพร
อสัญแดหวาเทวดา ซ่าหริ่มนั้นหนาหวานเย็นชื่นใจ
ปั้นเหน่งเข็มขัดรัดเอวทรามวัย ประไหมสุหรี มเหสีราชา
บุหลันนั้นคือพระจันทร์อำไพ บุหงารำไปคือดอกไม้นานา
พุทธรักษา บุษบามินตรา ระเด่นโอรสา ยิหวาดวงใจ
คำภาษาอื่น ๆ ที่มีใช้ในภาษาไทย
- ภาษาทมิฬ เช่น กะไหล่ กุลี กานพลู กำมะหยี่ จงกลนี ตรียัมปวาย ตะกั่ว ปะวะหล่ำ ยี่หร่า สาเก อาจาด กะละออม กะหรี่ (ชื่อแกงชนิดหนึ่ง)
- ภาษาเปอร์เซีย เช่น กากี กาหลิบ กุหลาบ เกด (องุ่นแห้ง) เข้มขาบ (ชื่อผ้า) คาราวาน ชุกชี (ฐานพระประธาน) ตาด (ผ้าไหมปักเงินหรือทองแล่ง) ตรา (เครื่องหมาย) ตราชู (เครื่องชั่ง) บัดกรี (เชื่อมโลหะ) ปสาน (ตลาด) ฝรั่ง (คำเรียกชาวยุโรป) ราชาวดี (พลอยสีฟ้า) สุหร่าย (คนโทน้ำคอแคบ) องุ่น สักหลาด ส่าน (ผ้าคลุมกายหรือหน้า) เยียรบับ (ผ้าทอยก ดอกเงินหรือทอง)
- ภาษาอาหรับ เช่น กะลาสี การบูร กั้นหยั่น กะไหล่ ฝิ่น โก้หร่าน
- ภาษาญี่ปุ่น เช่น เกอิชา กิโมโน คามิคาเซ่ คาราเต้ เคนโด้ ซามูไร ซูโม่ ซากุระ เทมปุระ ฟูจิ สุกี้ยากี้ ยูโด
- ภาษาโปรตุเกส เช่น สบู่ กัมปะโด ปิ่นโต กะละแม กะละมัง จับปิ้ง เลหลัง บาทหลวง ปัง ปิ่นโต เหรียญ
- ภาษาฝรั่งเศส เช่น กงสุล กรัม กาสิโน กาแฟ กาเฟอีน กิโยติน กิโลกรัม กิโลลิตร โก้เก๋ เชมเปญ โชเฟอร์ คูปอง เปตอง ปาร์เกต์ คาเฟ่ ครัวซองท์ บุฟเฟต์ มองสิเออร์
- ภาษาฮินดี เช่น อะไหล่ ปาทาน
- ภาษาพม่า เช่น หม่อง กะปิ ส่วย
- ภาษามอญ เช่น มะ เม้ย เปิงมาง พลาย ประเคน